ช่วงปีที่ผ่านมา หน้ากาก Pitta Mask จากประเทศญี่ปุ่นเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศจีน อเมริกา เกาหลีใต้ หรือแม้แต่ในประเทศไทย
ต้องยอมรับเลยว่าหน้ากากมันดูเก๋ แต่ในขณะเดียวกันทีม Smart Air ในเมืองปักกิ่งก็อดที่จะทำการทดสอบไม่ได้ว่าหน้ากากมันทำงานได้ดีจริงรึป่าวในเรื่องของการกรอง PM2.5 แบคทีเรีย หรือไวรัสไข้หวัดใหญ่และโคโรน่า จากข้อมูลพบว่าคุณภาพอากาศที่ประเทศญี่ปุ่นดีกว่าประเทศจีนเป็นอย่างมาก (การทดสอบประสิทธิภาพหน้ากากทดสอบในมณฑลปักกิ่ง ประเทศจีน) จึงเป็นไปได้ว่าหน้ากาก Pitta Mask ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อกรองฝุ่นจิ๋วอย่าง PM2.5 ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าอันตรายสุดๆต่อสุขภาพ และอาจเป็นไปได้เช่นกันที่หน้ากากสุดเก๋นี้ออกแบบมาเพื่อแฟชั่น หรือเพื่อกรองอนุภาคขนาดใหญ่เท่านั้น
การเปรียบเทียบ
ก่อนจะรีวิว เราได้ซื้อ Pitta Mask แพ็ค 3 ชิ้น จากร้านค้า official ในเว็บ Taobao ราคาประมาณ 300 บาท ซึ่งตกชิ้นละ 100 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับหน้ากาก 3M 9010 พบว่า 3M 9010 มีประสิทธิภาพสูงและราคาเพียง 15 บาท ต่อชิ้น
รีวิว Pitta Mask
เห็นได้ชัดว่า Pitta Mask มีหน้าตาต่างจากหน้ากาก 3M ทั่วไป
หน้ากาก Pitta Mask ไม่มีแผ่นกรองและผลิตมาจากโพลียูรีเทน วัสดุเดียวกับฟองน้ำ ซึ่งร้านค้า official ของ Pitta Mask ได้ให้คำอธิบายดังนี้
ในทางกลับกันหน้ากาก N95 อย่างของ 3M มีตัวกรองไฟฟ้าสถิต
การทดสอบ
เราทดสอบประสิทธิภาพการกรองของหน้ากาก Pitta Mask และ 3M 9502 และ 3M 9010 โดยจุดบุหรี่ในห้องที่ปิดสนิทเพื่อจำลองสภาพมลพิษอากาศเหมือนภายนอก และใช้พัดลมเป่าผ่านหน้ากากเพือทดสอบจำนวนอนุภาคของอากาศที่ออกมาจากพัดลม ซึ่งเราทดสอบอนุภาคขนาด 0.3 และ 2.5 ไมครอน เพราะขนาดดังกว่าวเป็นขนาดที่อันตรายที่สุดต่อร่างกาย เนื่องจากมีขนาดเล็กมากๆที่สามารถเข้าสู่ปอดและกระแสเลือดของมนุษย์ได้
ในการวัดค่าฝุ่น เราใช้ Met One GT-521 และ BAM ซึ่งสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (EPA) ใช้วัดค่าฝุ่นจากอากาศภายนอกอาคาร
ผลการทดสอบของหน้ากาก Pitta Mask
ผลลัพธ์ค่อนข้างแย่เลยทีเดียว…
หน้ากาก Pitta Mask กรองอนุภาคขนาด 0.3 ไมครอนได้ 0% และกรองอนุภาคขนาดใหญ่กว่าอย่าง 2.5 ไมครอนได้เพียง 64% ซึ่งหน้ากากอนามัยทั่วไป (surgical mask) ป้องกัน PM2.5 ได้มากกว่าเสียอีก ในขณะเดียวกันหน้ากาก 3M กรองมลพิษได้มากกว่า 90%
หากกำลังสงสัยว่านี่เป็นเรื่องบังเอิญรึป่าว การทดสอบอาจจะมีปัญหาก็ได้ เราต้องบอกเลยว่า AQ Blue บริษัทที่ผลิตหน้ากากสำหรับกรองมลพิษโดยเฉพาะ ได้ทำการทดสอบหน้ากาก Pitta Mask เช่นกัน โดยใช้อุปกรณ์ในการทดสอบต่างกันแต่ผลลัพธ์กลับออกมาคล้ายเคียงกันเลยทีเดียว
เราจึงสรุปได้ว่า หน้ากาก Pitta Mask ไม่มีประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคขนาดเล็ก นั่นหมายความว่าหน้ากากดังกล่าวไม่ใช่ทางเลือกที่ดีอย่างเด็ดขาดในการป้องกันฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ไวรัส และแบคทีเรีย
ข้อดีของหน้ากาก Pitta Mask
แน่นอนว่าหน้ากาก Pitta Mask ไม่ได้มีเพียงแค่ข้อเสีย และร้านค้า official ไม่เคยอวดอ้างว่าสามารถป้องกัน PM2.5 ได้แต่แรก
ร้านค้าให้ข้อมูลว่าหน้ากาก Pitta Mask มีประสิทธิภาพ 99% ในการกรองละอองเรณูและฝุ่นละอองซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 5-100 ไมครอน ซึ่งเครื่องนับอนุภาคของเราไม่มีข้อมูลตรวจจับอนุภาคขนาด 10 ไมครอน แต่จากการตรวจจับอนุภาคขนาด 5 ไมครอน พบว่าสามารถกรองได้ 86% นั่นแปลว่าการกรองอนุภาคขนาด 10 ไมครอนที่มีขนาดใหญ่กว่านั้น หน้ากาก Pitta Mask น่าจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าคำกล่าวอ้างของร้านค้ามีความเป็นจริงอยู่พอตัว
อย่างไรก็ตาม ช่องโหว่ของเราในการทดสอบคือ เราไม่ได้ทดสอบว่าหน้ากากแนบบนใบหน้าของผู้ใช้ได้ดีขนาดไหน ดังนั้นผู้ใช้หน้ากาก Pitta Mask ต้องคอยสังเกตในส่วนนี้เอง เว้นแต่ว่าคุณมีเครื่องทดสอบการแนบหน้ากากเข้ากับรูปหน้า ราคากว่าหลายหมื่นบาท
อ่านเพิ่มเติมว่าทำไมการที่หน้ากากแนบกับรูปหน้าอย่างสนิทจึงสำคัญนักในการป้องกันมลพิษอากาศ»
หน้ากาก Pitta Mask อาจทำให้คนเข้าใจผิดได้อย่างไร
ภูมิแพ้เกสรดอกไม้นับเป็นปัญหาใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นหน้ากาก Pitta Mask จึงช่วยป้องกันได้ดีมากในกรณีนี้ แต่ปัญหาคือคนไทยและคนจีนต่างใช้เพื่อป้องกันมลพิษอากาศ เพราะผู้ใช้หลายท่านมีความเข้าใจว่าหน้ากาก Pitta Mask สามารถป้องกันมลพิษอากาศได้เช่นกัน
อีกทั้งผู้ผลิตหน้ากาก Pitta Mask อ้างว่าสามารถซักแล้วนำกลับมาใช้ซ้ำได้กว่า 3 ครั้ง ซึ่งเหตุนี้ราคาของหน้ากาก Pitta Mask จึงมีราคาสูงได้อย่างไม่น่าเป็นที่สงสัย แต่ขณะเดียวกันผู้ผลิตก็ไม่ได้ให้หลักฐานในส่วนนี้ว่าสามารถซักแล้วนำมาใช้ซ้ำได้จริงรึป่าว แต่เราเคยทำการทดสอบการซักแผ่นกรอง HEPA แล้วพบว่าประสิทธิการกรองหลักการซักแย่ลงอย่างมาก
สรุป:
ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าเพื่อป้องกันละอองเรณู หน้ากาก Pitta Mask ทำได้ดีอย่างมาก แต่การกรองอนุภาคขนาดเล็กอย่างอนุภาคขนาด 0.3 หรือ 2.5 ไมครอน เช่น PM2.5 แบคทีเรีย และไวรัส นั้นกลับไม่มีประสิทธิภาพเลย ซึ่งถือว่าไม่ปลอดภัยอย่างยิ่งหากผู้ใช้ต้องการใช้หน้ากากดังกล่าวในประเทศไทย จีน อินเดีย หรือประเทศที่มีค่าฝุ่น PM2.5 สูง ดังนั้นทางออกก็คือการเลือกใช้หน้ากากที่มีการทดสอบและผ่านมาตรฐานแล้วเท่านั้น