หลายๆอย่างในชีวิตประจำวันของเราต่างรอบรู้ขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ หรือแม้แต่เครื่องฟอกอากาศ แต่ผลการทดสอบพบว่า เครื่องฟอกอากาศที่ว่าอัจฉริยะนั้นกลับล้มเหลวอยู่บ่อยครั้งและทำให้ผู้ใช้ได้รับอากาศที่ไม่ปลอดภัย
แนวคิดเบื้องหลังโหมดอัตโนมัติของเครื่องฟอกอากาศอัจฉริยะนั้นง่ายมาก เครื่องฟอกอากาศมีเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศขนาดเล็กอยู่ข้างใน เมื่อคุณภาพอากาศไม่ดีเครื่องฟอกอากาศจะเริ่มทำงาน เมื่ออากาศสะอาดขึ้นเครื่องฟอกอากาศจะหยุดทำงานอัตโนมัติ
ซึ่งเป็นผลดีอย่างเห็นได้ชัด เพราะเครื่องฟอกอากาศใช้พลังงานและส่งเสียงรบกวนน้อยลง เนื่องจากเครื่องฟอกอากาศอยู่ในโหมดความเร็วต่ำซะส่วนใหญ่
การทดสอบโหมดอัตโนมัติจากการใช้จริง
การทดสอบโหมดอัตโนมัติจากการใช้จริงอันนา ผู้ร่วมก่อตั้ง Smart Air ได้ทดสอบโหมดอัตโนมัติของ Xiaomi 2 และ Philips AC4073 เครื่องฟอกอากาศยอดนิยมที่สุดในประเทศจีน
การทดสอบดำเนินการอย่างง่ายและสมจริง อันนาใช้งานโหมดอัตโนมัติของ Xiaomi หรือ Philips เป็นเวลากว่า 13 วัน ในห้องพักขนาด 15 ตรม. ก่อนเข้านอน
อันนาใช้เครื่องตรวจนับปริมาณฝุ่น Dylos Pro laser ในการนับอนุภาคฝุ่นขนาด 0.5 และ 2.5 ไมครอน ทุกๆชั่วโมง จนถึงตอนเช้า ซึ่ง Dylos มีความแม่นยำสูง (r = .89) อ้างอิงจากหลายการทดสอบด้วยตัวเลขทางการของ PM2.5 (1, 2) และคำนวณเปอร์เซ็นต์ที่ลดลงตั้งแต่ก่อนเปิดเครื่องฟอกอากาศเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วงสี่ชั่วโมงที่ผ่านมาก่อนตื่นนอน
ผลลัพธ์
จากภาพด้านล่าง แสดงให้เห็นการทดลองของ Xiaomi ตั้งแต่ต้นจนจบ แม้จะทำงานในห้องปิดตลอดคืน แต่อากาศภายในอาคารกลับอยู่ในค่าที่ไม่ปลอดภัย
Xiaomi และ Philips ลดลงเฉลี่ย 62% และ 59% ตามลำดับ
เมื่อเปรียบเทียบ ผลลัพธ์กลับแย่กว่าการเอาแผ่นกรองอากาศมารัดติดกับพัดลมกว่า 20% เสียอีก
แต่เดี๋ยวก่อน Philips และ Xiaomi อาจจะกรองอากาศได้ไม่ดี และอาจเป็นไปได้ว่าเครื่องฟอกอากาศดังกล่าวใช้แผ่นกรองอากาศเกรดต่ำ หรือใบพัดอาจจะไม่แข็งแรงพอ
เครื่องฟอกอากาศมีส่วนเกี่ยวข้องไหม
จากการทดลองพบว่าไม่มีความผิดปกติใดๆ โดยการทดลองที่มีการตั้งค่าสูง Phillips กลับทำคะแนนได้สูงใกล้เคียงกับการทดสอบก่อนหน้านี้
และในการทดสอบการตั้งค่าระดับสูงของ Xiaomi ก็ทำได้ดีเช่นกัน แต่ไม่สามารถเปิดระดับสูงทิ้งไว้ได้ โดยเครื่องฟอกอากาศจะเปลี่ยนเป็นโหมดอัตโนมัติไม่ว่าผู้ใช้จะต้องการหรือไม่ในชั่วโมงที่สาม จริงหรือ ที่ Xiaomi ตั้งค่าระดับสูงทิ้งไว้ไม่ได้?
ไม่ปลอดภัยจริงหรอ?
คุณอาจสงสัยว่า ตัวเลขของปริมาณอนุภาคที่ลดลงกว่า 60% ก็ไม่แย่ไม่ใช่หรอ
แน่นอนว่ายังดีกว่าไม่ลดเลย แต่วิจัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพของมลพิษทางอากาศ พบว่าอากาศนั้นแย่มากเลยทีเดียว เพราะโดยเฉลี่ยอากาศภายในอาคารกลับสูงกว่าค่าจำกัดขององค์กรอนามัยโลก (ซึ่งเกินขีดจำกัดก็แพ้อย่างเห็นๆแล้ว!)
ทำไมโหมดอัตโนมัติถึงแย่นัก
จากการทดสอบตั้งค่าระดับสูงจากที่กล่าวไว้ด้านบนแสดงให้เห็นว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ใบพัดหรือแผ่นกรอง และเครื่องฟอกอากาศสามารถทำงานได้ปกติเมื่อตั้งค่าระดับสูงเอาไว้ นั่นแปลว่าอะไรกันล่ะ?
สาเหตุที่ 1: เครื่องวัดฝุ่นละอองที่มากับเครื่อง ไม่มีความแม่นยำ
โหมดอัตโนมัติถูกควบคุมโดยเครื่องวัดฝุ่นละอองที่มากับเครื่อง และปัญหาคือ เราทดสอบ Xiaomi กับเครื่องวัดฝุ่นละอองกว่า 3 ตัว และพบว่าจอแสดงผลของ Xiaomi มีความผิดเพี้ยนอย่างมาก และที่แย่ที่สุดคือการประเมินค่า PM2.5 ที่แท้จริงต่ำกว่า 218 ไมโครกรัม!
ดังนั้นเครื่องวัดอากาศอาจคิดว่าอากาศปลอดภัย ทั้งที่จริงแล้ว คำว่า “เป็นพิษ” จะเป็นนิยามที่ถูกต้องกว่า
สาเหตุที่ 2: Xiaomi จำกัดความคำว่า “อากาศปลอดภัย” อย่างหลวม ๆ
อาจเป็นไปได้ว่า Xiaomi มีคำจัดกัดความของ “อากาศปลอดภัย” อย่างหลวมๆ เช่น ขีดจำกัด PM 2.5 ของจีนคือ 35 ไมโครกรัม ในขณะที่ขีดจำกัดต่อปีขององค์การอนามัยโลกคือ 10 ไมโครกรัม! 10 ไมโครกรัมต่ำเกินไปไหม? สำหรับฉันไม่เลย เพราะจากการศึกษาพบว่าปริมาณดังกล่าวมีผลกระทบต่อสุขภาพได้ แม้จะต่ำกว่า 20 ไมโครกรัมก็ตาม
”สรุป:
โหมดอัตโนมัติมักปล่อยให้อากาศภายในอาคารสูงกว่าขีดจำกัด เราจึงไม่แนะนำให้ใช้โหมดอัตโนมัติ (หรือ Mi2 ซึ่งบังคับให้ใช้โหมดอัตโนมัติหลังจากผ่านไปสามชั่วโมง)