จะเอาหน้ากาก DIY มากันโควิดก็ฟังดูแปลกๆยังไงไม่รู้ มีข้อมูลมากมายบอกว่าหน้ากากใช้กันโควิดได้ดีเลยทีเดียว แถมยังมีราคาที่ถูกอีกด้วย หน้ากากอนามัยทั่วไปราคาเพียงชิ้นละไม่กี่บาท แต่สามารถกรองอนุภาคได้กว่า 80% แม้มีขนาดเล็กเพียง 0.007 ไมครอน (เล็กกว่าไวรัสโคโรนาถึง 14 เท่า)
แต่เพราะการระบาดของไวรัสโคโรนา หน้ากากหลายๆที่ขายออกจนหมดเกลี้ยง
หลายๆคนทำหน้ากากใช้เอง แต่หน้ากากทำเองจะกันโควิดได้จริงๆหรือ
ตัวอย่าง หน้ากาก Anti-virus (แอนตี้ไวรัส) DIY
หน้ากาก DIY กรองไวรัสโคโรนาได้หรือไม่
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ตั้งคำถามเดียวกันนี้ในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 H1N1 ระบาด และคิดเช่นเดียวกันว่าในสถานการณ์การระบาดทั่วโลก หน้ากาก N95 ต้องไม่พอใช้อย่างแน่นอน ซึ่งการคาดการณ์นี้ดันเป็นจริงในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา
นักวิจัยให้อาสาสมัครทำหน้ากากทำมือโดยใช้เสื้อยืดผ้าฝ้ายและจักรเย็บผ้า และใช้โปรโตคอลง่ายๆที่คิดขึ้นมาเอง จากนั้นนักวิจัยได้ปล่อยแบคทีเรียขนาดเล็ก 1 ไมครอน ที่เรียกว่า “Bacillus atrophaeus” เข้าไปที่หน้ากาก เพื่อวัดว่าหน้ากากทำมือสามารถดักจับได้กี่เปอร์เซ็นต์ อนุภาคเหล่านี้มีขนาดโดยประมาณของอนุภาคจริงของโรคระบาดและโรคแอนแทรกซ์
ถึงแม้ว่าหน้ากาก DIY ดักจับอนุภาคได้น้อยกว่าหน้ากากอนามัยทั่วไปตามตลาด แต่ก็ยังดักจับอนุภาคขนาด 1 ไมครอนได้ถึง 69%
แต่นี่คืออนุภาคที่เล็กที่สุดที่หน้ากากทำมือดักจับได้รึป่าว นักวิจัยจึงปล่อยอนุภาคที่เล็กไปกว่านั้น ซึ่งก็คือ “Bacteriophage MS2” ที่มีขนาดเพียง 0.02 ไมครอน ไปที่หน้ากาก ซึ่งอนุภาคนี้มีขนาดเล็กกว่าไวรัสโคโรนาด้วยซ้ำ
ผลลัพธ์ออกมาคล้ายๆกัน หน้ากากอนามัยทั่วไปดักจับอนุภาคได้มากกว่า แต่หน้ากากทำมือก็ยังดักจับอนุภาคนาโน หรืออนุภาคขนาดเล็กมากๆได้ถึง 51%
ว่าแต่ มันจะรั่วรึป่าว
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายๆคนอาจสงสัยว่า “หน้ากากผ้าดักจับอนุภาคได้ แต่มันไม่ได้แนบกับใบหน้าอย่างสนิท คงยากที่จะใช้งานได้จริงๆ”
แต่โชคดีที่นักวิจัยได้ทดสอบความพอดีของหน้ากาก DIY กับใบหน้าด้วยเหมือนกัน ในการทดสอบนักวิทยาศาสตร์จะวัดค่าอนุภาคภายในหน้ากาก และเทียบกับค่าที่อยู่ภายนอกหน้ากากในขณะที่ใส่หน้ากากอยู่จริงๆ
เครื่องทดสอบความพอดีจะวัดอนุภาคตั้งแต่ 0.02-1 ไมครอน ซึ่งรวมถึงขนาดของไวรัสโคโรนา
จากผลลัพธ์ของอาสาสมัครกว่า 21 คน หน้ากากผ้าฝ้ายทำมือสามารถดักจับอนุภาคขนาด 0.02-1 ไมครอน ได้ถึง 50% ในขณะที่หน้ากากอนามัยทั่วไปสามารถดักจับได้กว่า 80% นั่นแปลว่าหน้ากาก DIY สามารถดักจับอนุภาคได้แม้ขณะสวมใส่ จึงสรุปได้ว่าการสวมใส่หน้ากากทำมือยังดีกว่าการไม่สวมใส่หน้ากากเลยอย่างแน่นอน
ไวรัสโคโรนา & ถ่ายทอดสดการทดลองหน้ากาก
หากคุณสงสัยว่าหน้ากากอนามัยสามารถป้องกันไวรัสโคโรนาได้หรือไม่ คลิกเพื่อดูสรุปถ่ายทอดสดของเรา ซึ่งครอบคลุมข้อมูลทั้งหมดได้ที่นี่!
ยังมีการทดสอบหน้ากาก DIY ที่อื่นอีกไหม
Cambridge แสดงให้เห็นว่ามาสก์ทำมือที่ทำจากเสื้อยืดผ้าฝ้าย สามารถกรองอนุภาคบางส่วนที่มีขนาด 0.02-1 ไมครอน ได้ค่อนข้างดี แล้ววัสดุอื่นๆจะใช้ดักจับอนุภาคได้เหมือนกันไหม กลุ่มนักวิจัยในเนเธอร์แลนด์ได้ทดสอบมาสก์ทำมือที่ทำจากผ้าเช็ดจาน (ในสหราชอาณาจักรเรียกว่า “ผ้าชา”)
และยังมีการใช้เครื่องทดสอบความพอดีของหน้ากากเพื่อทดสอบขณะสวมใส่จริงอีกด้วย
หน้ากากจากผ้าเช็ดจานจับอนุภาคขนาด 0.02 – 1 ไมครอนได้ถึง 60% ซึ่งแน่นอนว่าหน้ากากอนามัยทั่วไปและหน้ากาก N95 สามารถจับอนุภาคได้มากกว่า อย่างไรก็ตามได้มีการสรุปข้อมูลว่าหน้ากากทำมือไร้ประโยชน์เมื่อนำมาป้องกันอนุภาคขนาดไวรัส
ควรสวมหน้ากากนานขนาดไหน
จากการทดสอบประสิทธิภาพของหน้ากาก DIY หลังจากการสวมใส่เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หน้ากากจะมีประสิทธิภาพน้อยลงหลังจากใช้งานจนเปียกชื้นหรือไม่
ผลการวิจัยพบว่าความชื้นและระยะเวลามีผลกระทบน้อยมากต่อประสิทธิภาพของหน้ากากหลายๆประเภท ในทางกลับกันหน้ากากทำมือจับอนุภาคขนาดไวรัสได้มากขึ้นถึง 5.8% หลังจากเวลาผ่านไป 3 ชั่วโมง ดังนั้นการสวมใส่เป็นเวลาหลายชั่วโมงจึงมีผลต่อประสิทธิภาพน้อยมากๆ
เด็กๆใช้หน้ากากทำมือได้หรือไม่
จากการทดสอบประสิทธิภาพของหน้ากากทำมือกับเด็ก 11 คน อายุ 5-11 ปี พบว่าสามารถดักจับอนุภาคขนาด 0.02-1 ไมครอน ได้เพียง 52% นั่นหมายความว่าหน้ากากมีผลกับเด็กน้อยกว่าผู้ใหญ่ประมาณ 15%
สิ่งที่น่าสนใจคือหน้ากากอนามัยทั่วไปและหน้ากากอนามัย FFP2 (N95) แสดงผลลัพธ์คล้ายๆกัน ซึ่งตรงกับการทดสอบของ Smart Air ที่ทดสอบการสวมใส่หน้ากากอนามัยของเด็กในประเทศอินเดีย พบว่าการใช้งานกับเด็กมีประสิทธิผลต่ำกว่าการใช้งานกับผู้ใหญ่ ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการใส่หน้ากากบนใบหน้าของเด็กเป็นไปได้ยากกว่า
สรุป:
แม้ว่าหน้ากาก DIY ดักจับอนุภาคได้น้อยกว่า เมื่อเทียบกับหน้ากากอนามัยทั่วไปและหน้ากาก N95 แต่ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าหน้ากาก DIY ที่ทำจากผ้าฝ้ายชั้นเดียวหรือผ้าชา ก็สามารถกรองอนุภาคขนาดไวรัสได้ถึง 50-60%