ช่วงสถานการณ์มลพิษอากาศที่ร้ายแรงในปักกิ่ง โทมัส ผู้ก่อตั้ง Smart Air มีความตั้งใจจะซื้อเครื่องฟอกอากาศ แต่คิดแล้วคิดอีกว่า มันจะกรอง PM2.5 ได้จริงๆไหม
ที่สงสัยเพราะมีการทดสอบมากมาย เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องฟอกอากาศ แต่ทั้งที่ทั้งนั้นเป็นการทดสอบกับละอองเกสรดอกไม้เท่านั้น ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า 10 ไมครอน (PM2.5 ขนาดเล็กกว่าหรือเท่ากับ 2.5 ไมครอน)
เพื่อคลายความสงสัย โทมัสจึงตัดสินใจซื้อเลเซอร์วัดค่าฝุ่น ซึ่งสามารถวัดได้แม้อนุภาคมีขนาดเล็กถึง 0.5 ไมครอน
และโทมัสได้ประดิษฐ์เครื่องฟอกอากาศ DIY เพื่อใช้ในการทดลอง โดยทดลองในห้องนอนของโทมัสเอง
กราฟด้านล่างนี้แสดงผลลัพธ์ของอนุภาคขนาด 0.5 ไมครอน หลังเริ่มเปิดใช้งานเครื่องฟอกอากาศ DIY
ซึ่งให้ผลลัพธ์คล้ายๆกับเครื่องฟอกอกาศที่เคยซื้อมาเพื่อทดลองก่อนหน้านี้ โดยเฉลี่ยจากการทดสอบข้ามคืนพบว่าเครื่องฟอกอากาศสามารถกรองอนุภาคขนาด 0.5 ไมครอนได้กว่า 80–90%
แล้วอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่านั้นล่ะ
เขาคิดว่าตลอดเลยว่าแผ่นกรอง HEPA (แผ่นกรองที่ใช้ในเครื่องฟอกอากาศ) จะกรองอนุภาคขนาดเล็กไม่ได้ เพราะมีการพูดถึงประสิทธิภาพของแผ่นกรอง HEPA หลายๆแห่ง หรือแม้แต่ใน Wikipedia ว่าสามารถดักจับอนุภาคได้เพียงมากกว่าและเท่ากับ 0.3 ไมครอน ซึ่งนั้นแปลว่าอนุภาคที่เล็กกว่านั้น จะไม่สามารถดักจับได้ แน่นอนว่าโทมัสทำการทดสอบอีกเช่นเคย
ปรากฎว่าที่ผ่านมาโทมัสเข้าใจผิดมาตลอด เพราะ HEPA สามารถจับอนุภาคขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอนได้ง่ายกว่าจริงๆ (ตามหลักการ Brownian Motion) ซึ่งได้มีการทดลองนอกเหนือจากการทดลองของโทมัสอีกด้วย โดยการทดลองดังกล่าวใช้เครื่องวัดค่าฝุ่นที่สามารถวัดอนุภาคได้ถึง 0.01 ไมครอน และทดสอบกับเครื่องฟอกอากาศ 7 เครื่อง เป็นเวลา 10 นาที
ผลลัธพ์แสดงให้เห็นว่า แม้เป็นเครื่องฟอกอากาศคนละรุ่นกันแต่ก็สามารถกรองอนุภาคขนาดเล็ก (สีฟ้า) และอนุภาคขนาดใหญ่ (สีน้ำเงิน) ได้ใกล้เคียงกันเลยทีเดียว
Bottom Line
สรุป:
แผ่นกรอง HEPA สามารถดักจับ PM2.5 หรือแม้แต่อนุภาคที่เล็กกว่าได้อีกด้วย
ปล. บริษัทเครื่องฟอกอากาศรายใหญ่หลายแห่งมักใช้ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับแผ่นกรอง HEPA เพื่ออ้างความ “เป็นกรรมสิทธิ์” ว่าแผ่นกรองของตนเองเท่านั้นที่สามารถกรองอนุภาคขนาดเล็กได้อย่าง เครื่องกรองอากาศ Molekule ที่เป็นที่รู้จักในหมู่มาก
เมื่อเข้าใจเบื้องหลังของแผ่นกรองอากาศแล้ว ก็จะไม่ตกหลุมพรางการตลาดนี้อีก!