ไม่นานมานี้มีคนตั้งคำถามใน Quora ว่าเครื่องฟอกอากาศ Ionizer ทำงานยังไงและฟอกอากาศได้จริงหรือไม่ คำถามนี้สำคัญมากๆเพราะเครื่อฟอกออากาศ Ionizer หรือ เครื่องฟอกอากาศประจุลบ มีให้เราเห็นได้ทุกที่ก็ว่าได้ ตามตลาดเราอาจได้ยินชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น “เครื่องฟอกอากาศไอออน” “เครื่องฟอกอากาศประจุลบ” หรือ “เครื่องฟอกอากาศไอออนิก” เป็นต้น เรามาดูกันดีกว่าว่าจริงๆแล้วมันคืออะไร และทำงานได้ดีจริงหรือไม่
ตัวอย่างในภาพ: โทมัส ผู้ก่อตั้ง Smart Air ได้ไปที่หอพักของเพื่อนในอเมริกา แล้วพบกับพัดลมตั้งพื้นที่มีปุ่ม Ionizer
ที่น่าสนใจคือเพื่อนๆของโทมัสจากประเทศจีนก็ได้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องฟอกอากาศ Ionizer มาให้มากมายเช่นกัน
และที่น่าทึ่งคือ เครื่องฟอกอากาศไอออไนเซอร์กรอง PM2.5 และฟอร์มาลดีไฮด์ได้ในเวลาเพียง 30 วินาที ยิ่งไปกว่านั้นยังมีราคาถูกกว่าเครื่องฟอกทั่วไปอยู่มาก และยังถูกกว่าการประดิษฐ์เครื่องฟอกอากาศ DIY เองด้วยซ้ำ
ถ้าดีจริง อากาศทั้งเมืองตอนนี้คงดีมากไปแล้วจริงไหม
เครื่องฟอกอากาศ Ionizer ทำงานยังไง
นี่คือตัวอย่างห้องนอน ที่มีเครื่องฟอกอากาศ Ionizer และเต็มไปด้วยอากาศไม่บริสุทธิ์
และจะยิงประจุลบสู่อากาศ
ซึ่งประจุลบที่ว่านั้น ทำให้อนุภาคที่ลอยอยู่ในอากาศตกลงสู่พื้นผิว เช่น เตียง ผนัง และพื้น
จากการอธิบายเบื้องต้นอาจไม่เห็นภาพชัดนัก แต่ลองนึกถึงตอนที่คคุณเอาลูกโป่งมาถูกับผมแล้วลองไปติดกับผนังดูสิ
เดี๋ยวก่อน #1 – Ionizer ไม่ได้มีประสิทธิภาพขนาดนั้น
การทดสอบทางวิทยาศาสตร์ของเครื่องฟอกอากาศสรุปได้ว่า Ionizers ในอากาศส่วนใหญ่ไม่มีผลต่อระดับฝุ่นละออง เนื่องมาจาก Ionizer ไม่ได้แรงขนาดที่จะก่อให้เกิดผลกระทบ จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าหากมีการใช้ Ionizer ที่แรงจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้ แต่แรงในที่นี้หมายถึงต้องแรงกว่าที่วางขายในตลาดหลายเท่าเลยทีเดียว
เดี๋ยวก่อน #2 – Ionizer ก่อโอโซนที่เป็นอันตราย
จากข้อสรุปจากข้อแรก เราอาจจะเลือกที่จะใช้เครื่องฟอกอากาศ Ionizer ที่ใหญ่ขึ้นเพื่อประสิทธิภาพที่ดีขึ้น แต่ปัญหาคือการเพิ่มประจุลบในอากาศก่อให้เกิดโอโซน ซึ่งโอโซนเป็นอันตรายอย่างมาก จึงไม่เป็นที่แนะนำอย่างยิ่ง
เดี๋ยวก่อน #3 – Ionizer ก่อให้เกิดอนุภาคที่เป็นอันตราย เช่น PM2.5
มีการเผยให้เห็นว่า Ionizer เพิ่มระดับอนุภาคขนาดเล็กที่เป็นอันตรายได้มากกว่า 8 เท่า ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาเคมีที่ Ionizer สร้างขึ้นในอากาศ
เดี๋ยวก่อน #4 – Ionizer สร้างก๊าซ VOC ที่เป็นอันตราย
Ionizer สามารถก่อให้เกิดสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย หรือ VOCs จำนวนมาก รวมถึง VOCs ที่เกิดจาก Global Plasma Solutions ในโรงเรียน ได้แก่ อะซิโตน เอทานอล โทลูอีน บิวทิรัลดีไฮด์ และอะซีตัลดีไฮด์ นอกจากนี้ Ionizer ยังเพิ่มระดับฟอร์มาลดีไฮด์ในอากาศประมาณ 10%
เดี๋ยวก่อน #5 – Ionizer ทำให้สกปรก
แม้ว่าเราจะใช้ Ionizer ที่แรงมากและรับระดับโอโซนที่ผลิตออกมาได้ แต่เราก็เห็นได้ว่า Ionizer ไม่ได้กรองอนุภาคเลย เพราะหลักการคือการทำให้อนุภาคตกลงมาสู่พื้นผิวเตียง ผนัง และพื้นเท่านั้นเอง
ประการแรก ให้นึกเล่นๆว่าฝุ่นที่ลอยไปมาในเมืองอย่างกรุงเทพ ปักกิ่ง เดลี รวมถึงสารเคมีต่างๆ เช่น แคดเมียม สารหนู และตะกั่ว มาอยู่บนหมอนก็เอาซะขนลุกไม่ใช่เล่นเลย
ประากรที่สอง มันก็ยังอันตรายอยู่ดี เพราะฝุ่นเหล่านั้นตกลงมาอยู่บนที่นอน ลองคิดเล่นๆอีกนะว่า
คุณเข้าห้องมาแล้วมานั่งบนเตียง เจ้าฝุ่นพวกนี้ก็เด้งลอยกลับสู่อากาศเช่นเคย อย่างในตัวอย่างนี้:
ด้วยเหตุนี้ Consumer Reports ได้เผยแพร่การทดสอบและเตือนผู้คนไม่ให้ซื้อ Sharper Image Ionic Breeze แน่นอนว่า Sharper Image ฟ้องร้อง Consumer Reports แต่ สุดท้าย Consumer Reports ก็ชนะคดี
ดังนั้นเมื่อมีคนมาสอบถาม Smart Air เรื่องเครื่องฟอกอากาศ Ionizer ที่แสน “อัศจรรย์” เราจะไม่แนะนำอย่างโดยเด็ดขาด
สรุป:
Ionizer ปล่อยประจุลบสู่อากาศ แล้วทำให้อนุภาคที่ลอยอยู่ในอากาศตกลงสู่พื้นผิว
#1 Ionizer ไม่ได้มีประสิทธิภาพขนาดนั้น
#2 Ionizer ก่อโอโซนที่เป็นอันตราย
#3 Ionizer ก่อให้เกิดอนุภาคที่เป็นอันตราย เช่น PM2.5
#4 Ionizer สร้างก๊าซ VOC ที่เป็นอันตราย
#5 อนุภาคที่เกาะบนเตียง ผนัง หรือพื้น ยังเป็นอนุภาคที่สกปรกเหมือนเดิม