5 ขั้นตอน เลือกเครื่องฟอกอากาศที่ดีที่สุด

“เครื่องฟอกอากาศ ยี่ห้อไหนดี”

หลายๆคนมักจะถามคำถามนี้เมื่อต้องการซื้อเครื่องฟอกอากาศ ในตลาดมีเครื่องฟอกอากาศนับร้อยพันให้เลือกเลยทีเดียว แต่จะรู้ได้ยังไงว่ายี่ห้อไหนดีที่สุด และรุ่นไหนเหมาะสมต่อการใช้งานของ บทความนี้เราจะพาทุกคนไปดูวิธีการเลือกเครื่องอากาศแบบฉบับที่คุณอาจไม่เคยเห็นจากที่ไหนมาก่อน 

เครื่องฟอกอากาศ ยี่ห้อไหนดีที่สุด

‘ยี่ห้อไหนดีที่สุด’ เป็นคำถามที่กว้างมากๆ เพราะในตลาดเครื่องฟอกอากาศมีตัวท็อปหลายยี่ห้อและหลายรุ่นเลยทีเดียว จะให้เลือกมาสักรุ่นคงไม่ง่ายนัก แต่ถ้าเลือกสุ่มๆก็คงไม่ช่วยตอบคำถามได้เลย หากคุณกำลังมองหาเครื่องฟอกอากาศอยู่ล่ะก็ ลองใช้ 5 ขั้นตอนนี้สิ:

วิธีที่ 1: ตั้งคำถามเกี่ยวกับลูกเล่น

เครื่องฟอกอากาศมีหลักการผลิตที่ไม่ซับซ้อน โดยทั่วไปทุกเครื่องจำเป็นต้องมีพัดลมและแผ่นกรองอากาศ เพียงเท่านี้ก็สามารถกรอง PM2.5 ได้แล้ว แต่บริษัทหลายๆแห่งปกปิดหลักการเหล่านี้โดยการใส่ลูกเล่นที่ไม่จำเป็นให้กับเครื่องฟอกอากาศ ซึ่งการกระทำดังกล่าวทำให้เครื่องฟอกอากาศดูมีอะไรมากขึ้นและสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับเครื่องฟอกอากาศอีกด้วย

คำถามคือ ลูกเล่นเหล่านั้นเพิ่มคุณค่าได้จริงไหม มันทำงานได้จริงรึป่าว เราจึงทำการทดสอบและได้ข้อสรุปดังนี้:

  1. อุปกรณ์ตรวจจับ หรือ เซ็นเซอร์

เครื่องฟอกอากาศที่มาพร้อมเครื่องวัดค่าฝุ่นดูน่าสนใจและค่อนข้างสะดวกเลยทีเดียว แต่ความจริงแล้วเซ็นเซอร์เหล่านี้ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุผลดังนี้: 

1. การตรวจจับอนุภาคของเครื่องวัดค่าฝุ่นที่ติดมากับเครื่องใช้ระบบอินฟราเรด ซึ่งเป็นระบบที่มีต้นทุนต่ำและให้ข้อมูลที่ไม่แม่นยำอย่างมาก อ่านเพิ่มเติม: เครื่องวัดค่าฝุ่นที่มากับเครื่องฟอกอากาศทำงานได้ไม่ดีอย่างไร 
2. เครื่องวัดค่าฝุ่นที่มากับเครื่องฟอกอากาศจะตรวจจับเฉพาะอากาศที่อยู่รอบๆเครื่องฟอกอากาศเท่านั้น และแน่นอนว่าอากาศรอบๆเครื่องฟอกอากาศมักจะดีที่สุดอยู่แล้ว

  1. เทคโนโลยีปล่อยประจุลบ

การทำงานของเทคโนโลยีดังกล่าวคือ การปล่อยประจุลบซึ่งดึงดูดอนุภาคในอากาศเช่น PM2.5 แบคทีเรียและไวรัส จากนั้นอนุภาคเหล่านี้ก็ตกลงสู่พื้นผิวที่อยู่ใกล้ที่สุด และแน่นอนว่ามันจะไปจบลงบนโต๊ะ เสื้อผ้า หรือหมอนของคุณนั่นเอง คงไม่มีใครอยากคลุกคลีกับไวรัสหรอกนะ การปล่อยประจุลบทำให้หลายๆคนเข้าใจผิดอย่างมากว่า อากาศจะบริสุทธิ์มากขึ้นและดักจับอนุภาคได้ดียิ่งขึ้น แต่ความจริงแล้วเทคโนโลยีนี้กลับทำอันตรายและผลิตโอโซนที่เป็นพิษ เราจึงไม่แนะนำให้คุณเสียเงินให้กับลูกเล่นนี้ อ่านบทความเกี่ยวกับการทำงานของการปล่อยประจุลบเพิ่มเติมได้ ที่นี่ 

  1. แสง UV

เครื่องฟอกอากาศด้วยแสง UV ฆ่าเชื้อไวรัสได้ไม่รวดเร็วพอ ยิ่งไปกว่านั้นเครื่องฟอกอากาศแสง UV ส่วนใหญ่มี HEPAs ซึ่งเป็นตัวสำคัญในการกำจัดไวรัส 99.9% ในอากาศ โดยแสง UV ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ดูแลรักษายากและอาจทำให้ตัวกรอง HEPA เสียหายได้ อ่านเพิ่มเติม ที่นี่

  1. เลี่ยงเทคโนโลยีครบครัน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีเครื่องฟอกอากาศแบบจ้างโรงงานผลิต แล้วนำมาติดแบรนด์ตัวเอง (OEM) เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ซึ่งเครื่องฟอกอากาศประเภทนี้มีเทคโนโลยีทุกประเภท เช่น เซ็นเซอร์ตรวจจับสารระเหย (TVOC) และ PM2.5 หรือแม้แต่เครื่องจ่ายประจุลบในราคาต่ำ เราเปิดเผยข้อมูลเรื่องหลักการฟอกอากาศว่าสามารถผลิตได้อย่างง่ายเสมอมา อย่างไรก็ตามการเพิ่มลูกเล่นมากมายให้กับเครื่องฟอกอากาศในราคาเพียง 890 บาทนั้นก็เป็นเรื่องที่เกินจริงเช่นกัน

ขั้นตอนที่ 2: เมินโฆษณาเกินจริง

การอ้างสิทธิ์เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของเทคโนโลยีดังกล่าวไม่ตรงกับผลการทดลองที่เราเคยค้นคว้า เครื่องฟอกอากาศ Molekule เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เพราะการอ้างไม่ตรงกับหลักความจริง
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่: เครื่องฟอกอากาศ Molekule ดีกว่าเครื่องฟอกอากาศรุ่นอื่นที่ราคาใกล้เคียงกันในตลาดจริงหรือ


เมินแผ่นกรองนำเข้าต่างๆที่พยายามโน้มน้าวด้วยการอ้างธงยุโรปหรือการอ้างถึงตัวกรอง Hyper HEPA ที่จดสิทธิบัตร เพราะความจริงแล้วแผ่นกรอง HEPA ประดิษฐ์ในปีค.ศ. 1940 จึงไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ และไม่มีใครเป็นเจ้าของอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นแผ่นกรอง HEPA สามารถดักจับอนุภาคของแข็งได้เกือบทุกขนาดได้อย่างดีเยี่ยมได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ผลิตแล้ว



ขั้นตอนที่ 3: อ่านตัวเลข

โฟกัสที่ตัวเลข ตัวเลขที่สำคัญที่สุดสำหรับเครื่องฟอกอากาศคือ ‘ขนาดห้อง’ (ตร.ฟุต หรือ ตร.ม. ) และ ‘ค่า CADR’ ซึ่งย่อมาจาก Clean Air Delivery Rate โดยบอกจำนวนลูกบาศก์เมตรที่เครื่องทำความสะอาดได้ภายใน 60 นาที

ตัวอย่างเช่น The Sqair เครื่องฟอกอากาศรุ่นใหม่ล่าสุดของเรา มี CADR 315 ดังนั้นจึงสามารถทำความสะอาดได้ 315 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ในห้องขนาด 40 ตารางเมตร เพดานสูงไม่เกิน 2.5 เมตร และมีปริมาตรรวม 100 ลูกบาศก์เมตร 315 หารด้วย 100 เท่ากับ 3.15 ซึ่งหมายความว่า The Sqair สามารถทำความสะอาดอากาศอย่างหมดจดได้ถึง 3.15 ครั้ง ต่อชั่วโมง เราจึงมั่นใจได้ว่าอากาศที่หายใจเข้าไปสะอาดอย่างแน่นอน

ระวัง: เครื่องฟอกอากาศมาตรฐานโรงงาน (OEM)ที่มีราคาถูก มักไม่ให้ข้อมูล CADR ที่ชัดเจน เครื่องฟอกอากาศในภาพด้านล่างมีเลข CADR สองตัวที่ต่างกัน แต่อันไหนจริง อันไหนเท็จ เราไม่มีทางรู้ หากคุณต้องการจัดการกับมลพิษอากาศอย่างจริงจัง ก็ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือและมีคุณภาพจะดีกว่า


ขั้นตอนที่ 4: แพงกว่า ไม่ได้แปลว่าดีกว่า

บางทีเราอาจคิดว่าจ่ายแพงกว่าจะได้สินค้าที่ดีกว่า เพราะคำว่า “คุณภาพตามราคา” มันดูจะจริงอยู่บ่อยครั้งเลยทีเดียว แล้วยิ่งเป็นเรื่องสุขภาพใครๆก็อยากจ่ายเพื่อได้สิ่งที่ดีที่สุดใช่ไหมล่ะ

แต่สำหรับเครื่องฟอกอากาศมันไม่ได้เป็นแบบที่เราคิด หลักการทำงานมันง่ายจนน่าตกใจ เพราะจริงๆแล้วมันก็คือพัดลมและแผ่นกรองอากาศเท่านั้นเอง ซึ่งเราสามารถทำเองได้ด้วยซ้ำ

แน่นอนว่าบริษัทเครื่องฟอกอากาศไม่อยากให้เรารู้ เพราะบริษัทอาจขาดทุนเป็นล้านได้เลย ยังไงก็ตามเราไม่อยากให้ทุกคนเชื่อที่เราพูดไป แต่อยากให้ทุกคนได้ลองอ่านการทดลองนี้เอง ว่าเครื่องฟอกอากาศ DIY ราคาประมาณ 1,000 บาท กับ เครื่องฟอกอากาศราคาหลายหมื่นทำความสะอาดอากาศได้พอๆกันอย่างไร

ขั้นตอนที่ 5: หาข้อมูลการทดลองจากการใช้จริง

เมื่อเจอเครื่องฟอกอากาศที่สนใจแล้ว ลองหาข้อมูลการทดลองจากการใช้งานจริงหรือจากบุคคลที่สามที่มีการรับรองแล้วดูสิ หรือลองหาข้อมูลตามเว็บไซต์เหล่านี้:

  • Sweet Home: นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐฯ ทดสอบ 7 แบรนด์หลักๆ และเนื่องจากมีการลบข้อมูลดิบของการทดสอบออกจากอินเตอร์เน็ตแล้ว เราจึงรวบรวมสำเนาเอาไว้ที่นี่

ขั้นตอนที่ 6: ขอให้ปลอดภัย Breathe safe!

ตามนั้นเลย! 

สรุป

อย่าหลงกลการตลาด ให้ความสำคัญกับข้อท็จจริง ค้นหาข้อมูลการทดสอบเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศ และตระหนักว่าราคาแพงกว่าไม่ได้หมายถึงอากาศที่ดีกว่าเสมอไป

Smart Air

Subscribe
Notify of
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
Smart Air low cost purifiers

Smart Air เป็นธุรกิจเพื่อสังคม ที่จัดสรรอากาศสะอาดให้คุณอย่างเรียบง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุด และให้ความรู้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อให้คุณมีสุขภาพที่ดีและป้องกันผลกระทบจากมลพิษอากาศ และเรายังได้รับการรับรองว่าเป็นธุรกิจ B-Corp ในเรื่องของการต่อสู้กับมลพิษทางอากาศอีกด้วย

Certified B-Corp air purifier company