เนื่องด้วยสถานการณ์ภูเขาไฟปะทุทั่วโลกขณะนี้มีมากถึง 1500ลูก ก๊าซและเถ้าฝุ่นหรือที่รู้จักกันในชื่อว่า VOG ที่ถูกปล่อยออกมาย่อมส่งผลกระทบต่อทุกคน อีกทั้งมันยังสามารถเดินทางไปได้ไกลหลายร้อยหลายพันไมล์จากจุดระเบิดของภูเขาไฟ แต่คำถามก็คือ ภูเขาไฟระเบิดแท้จริงแล้วคืออะไร และมันมีผลกระทบต่อคุณภาพอากาศอย่างไรกันแน่
ก๊าซที่ถูกปล่อยออกมาจากภูเขาไฟ
ภูเขาไฟปล่อยก๊าซออกมาหลากหลายประเภทมาก ไม่ว่าจะเป็น H20, CO2, SO2, H2, CO, H2S, และ HCL แต่ก๊าซที่ถูกปล่อยออกมาเยอะที่สุดคือไอน้ำแฝง หรือ H20
ด้านล่างนี้เป็นตารางเปรียบเทียบเปอร์เซนต์ความเข้มข้นของก๊าซที่ถูกปล่อยออกมาจากภูเขาไฟ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องจำเอาไว้เสมอว่าชนิดของก๊าซและสัดส่วนของก๊าซจะแตกต่างกันไปตามแต่ละภูเขาไฟ
ภูเขาไฟ | ยอดเขา Kilauea | ภูเขา Erta’ Ale | ภูเขา Momotombo |
H20 | 37.1 | 77.2 | 97.1 |
CO2 | 48.9 | 11.3 | 1.44 |
SO2 | 11.80 | 8.34 | 0.50 |
H2 | 0.49 | 1.39 | 0.70 |
CO | 1.51 | 0.44 | 0.01 |
H2S | 0.04 | 0.68 | 0.23 |
HCL | 0.08 | 0.42 | 2.89 |
นอกจากภูเขาไฟจะปล่อยไอน้ำแฝงออกมาเป็นจำนวนมากแล้วมันก็สามารถปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจำนวนมากได้เช่นกัน แต่ในความเป็นจริงนั้น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจากภูเขาไฟระเบิดนั้นเทียบแล้วมีจำนวนน้อยกว่าจากมนุษย์เสียอีก งานวิจัยพบว่ากิจกรรมต่างๆของมนุษย์สร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 130 เท่าจากที่ภูเขาไฟระเบิดปล่อยมา
แต่ภูเขาไฟยังมีประโยชน์อื่น เช่น มันเป็นแหล่งทรัพยากรของก๊าซ S02, HCI, และ HF ที่ใหญ่ที่สุดของโลก
อนุภาคที่ถูกปล่อยออกมาจากภูเขาไฟ
ภูเขาไฟปล่อยทั้งหิน แร่ธาตุ และอนุภาคก๊าซเรือนกระจกไปในอากาศ ซึ่งทั้งหมดนี้เรียกว่า Tephra ชิ้นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของ Tephra มีขนาดมากกว่า 64 มิลลิเมตร และมักจะตกลงบนพื้นใกล้ภูเขาไฟ
แต่ในทางกลับกัน อนุภาคเถ้าฝุ่นที่มีขนาดน้อยกว่า 2 มิลลิเมตรจะลอยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศระดับสูงและยังสามารถเดินทางได้ไกลหลายร้อยหลายพันไมล์ อนุภาคเหล่านี้มีขนาดเล็กถึง .001 มิลลิเมตรหรือ 1ไมครอนหรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่า PM2.5 ที่เป็นอันตรายอย่างมากต่อมนุษย์เพราะว่ามันมีขนาดเล็กมากจนสามารถเข้าไปอยู่ในกระแสเลือดและอวัยวะต่างๆได้
อ่านต่อเพิ่มเติม: เครื่องฟอกอากาศสามารถกำจัดอนุภาคPM2.5 ได้หรือไม่
Tephra ส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตรและตกลงสู่พื้นภายใน 30นาทีของการระเบิด แต่อนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า .01 มิลลิเมตรนั้นสามารถลอยตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นานถึง 2-3 ปี

ตัวอย่างเถ้าภูเขาไฟแสดงให้เห็นว่าภูเขาไฟปล่อยอนุภาคขนาดใหญ่และหยาบจำนวนมากกว่าอนุภาคที่ละเอียดกว่า แต่การรวบรวมนี้อาจคำนวณปริมาณอนุภาคที่เล็กกว่าน้อยเกินไปเนื่องจากว่ามันอาจมีบางส่วนที่ยังลอยตัวอยู่ในอากาศ ด้านล่างนี้เป็นกราฟแสดงให้เห็นถึงด้านล่างนี้คือการกระจายขนาดอนุภาคจากภูเขาไฟเอยาฟยาลลาโจกุล(Eyjafjallajökull) ในประเทศไอซ์แลนด์

ภูเขาไฟส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศอย่างไร
ผลกระทบต่อคุณภาพอากาศหลังเกิดภูเขาไฟอาจมีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละการระเบิด ขึ้นอยู่กับปัจจัยการระเบิด เช่น ขนาดหรือแรงระเบิด และแรงลมท้องถิ่น แต่อย่างไรก็ตามภูเขาไฟสามารถทำลายคุณภาพอากาศตามแนวทางดังนี้
ภูเขาไฟเพิ่มระดับความอันตรายของ PM2.5 และ PM10
ระดับความอันตรายของอนุภาคขนาดละเอียดจะเพิ่มขึ้นมากเมื่อใกล้พื้นที่การระเบิดเหตุมาจากเถ้าฝุ่นภูเขาไฟ ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการระเบิดของภูเขาไฟสามารถเพิ่มระดับอนุภาค PM2.5 และ PM10หรือที่ใหญ่กว่าได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งอนุภาคเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง
การศึกษาแสดงให้เห็นว่าภูเขาไฟส่งผลกระทบต่อระดับ PM10 มากกว่าระดับ PM2.5 ในพื้นที่ใกล้เคียงของการปะทุ เนื่องจากว่า โดยปกติแล้วเถ้าฝุ่นภูเขาไฟมีอัตราส่วนของ PM2.5-PM10 (ประมาณ .23) ซึ่งเมื่อเทียบกับอัตรามลพิษทางอากาศทั่วไปในเมือง (ประมาณ.65) แล้วนั้นมันมีระดับต่ำกว่ามาก ดังที่กล่าวมา โดยทั่วไปแล้วจะเป็นเถ้าภูเขาไฟขนาด PM2.5 ที่มีขนาดเล็กกว่าและสามารถเดินทางได้ไกลมากทำให้ส่งผลกระทบต่อชุมชนที่อยู่ห่างไกลจากการปะทุ
อนุภาคเหล่านี้สามารถเดินทางไปได้ไกลขนาดไหน คำตอบคือ อนุภาคภูเขาไฟ VOG สามารถเดินทางได้ไกลหลายพันไมล์ทั่วโลก เมื่ออ้างอิงจากข้อมูลที่ค้นมา

ตัวอย่างของระดับอนุภาค PM2.5 และ PM10 ที่เพิ่มขึ้นสาเหตุมาจากภูเขาไฟระเบิด
*การปะทุของภูเขาเซนต์เฮเลนในปี 1980 ในสหรัฐอเมริกาทำให้ PM10 มีความเข้มข้นสูงขึ้นเป็นเวลาหลายเดือน โดยมีค่าตั้งแต่ 50–570 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินขีดจำกัดที่องค์กรอนามัยโลกWHO แนะนำมาหลายเท่า
การปะทุของภูเขาไฟเอยาฟยาลลาโจกุล( Eyjafjallajökull )ในประเทศไอซ์แลนด์ระหว่างปี 2010 มีความเข้มข้น PM10 เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรนานถึง 25 วันในปีนั้น
มีการบันทึกข้อมูลไว้ว่าระดับ PM2.5 มีจำนวนมากกว่า 165 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรที่ขอบภูเขาไฟมาซายาในนิการากัว ซึ่งมีปริมาณมากกว่า 16 เท่าของขีดจำกัดประจำปีที่องค์กรอนามัยโลก WHO แนะนำ
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ทำให้คุณภาพอากาศแย่ได้เกือบเทียบเท่ากับภูเขาไฟระเบิด
ในกรณีที่แรงลมไม่แรงนัก ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ที่ถูกปล่อยออกมาจากภูเขาไฟ Kilauea สามารถสะสมในอากาศนานจนไปถึงระดับที่เกินมาตรฐานด้านสุขภาพของรัฐบาลกลาง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมากกว่า 85 ครั้งตั้งแต่ปี 1986 ที่อุทยานแห่งชาติกลุ่มภูเขาไฟฮาวาย ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์มีความอันตรายอย่างมากโดยเฉพาะยิ่งเมื่อมันมีความเข้มข้นสูงซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้

ก๊าซซัลเฟอร์ออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจากภูเขาไฟสามารถเกิดปฏิกิริยากับแสงอาทิตย์และสร้าง PM 2.5
ก๊าซซัลเฟอร์ออกไซด์ เช่น SO2สามารถสร้างอนุภาคขนาดละเอียดอย่าง PM2.5ได้ ถึงแม้ว่ามันจะอยู่ไกลจากการระเบิด ซึ่งมีสาเหตุมาจากปฏิกิริยาทางเคมี ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ( SO2 ) ถูกปล่อยออกมาจากภูเขาไฟเกิดปฏิกิริยากับแสงอาทิตย์ ก๊าซในชั้นบรรยากาศและละอองในอากาศ และกลายตัวเป็นอนุภาคขนาดเล็ก

ปฏิกิริยาทางเคมีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจากก๊าซของภูเขาไฟระเบิด
ยิ่งเถ้าฝุ่นภูเขาไฟเดินทางได้ไกลเท่าไร ฝุ่น PM2.5และอนุภาคอันตรายอื่นๆยิ่งมีเพิ่มเท่านั้น เหตุผลก็เพราะว่า ยิ่งมีก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ค้างอยู่ในอากาศนานเท่าไร โอกาสที่มันจะเกิดปฏิกิริยาและสร้าง PM2.5 ก็ยิ่งมีมากเท่านั้น
การศึกษาค้นคว้าพบว่า 90% ของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจากการระเบิดของภูเขาไฟสามารถเปลี่ยนเป็นอนุภาคขนาดละเอียดได้ภายใน 1 เดือนเลยทีเดียว
ภูเขาไฟก่อให้เกิดฝนกรด
ก๊าซอันตรายที่ถูกปล่อยออกมาจากภูเขาไฟ เช่น SO2, HCl, และHF เมื่อรวมตัวกับละอองน้ำแล้วจะก่อตัวเกิดเป็นฝนกรดซึ่งเป็นอันตรายต่อพืช

การระเบิดของภูเขาไฟ Turrialba ที่ประเทศคอสตาริกาในปี 2014 ก่อให้เกิดฝนกรดเป็นจำนวนมากและยังส่งผลกระทบอย่างหนักกับพื้นที่บริเวณรอบและอุตสาหกรรมการเกษตรซึ่งประเมินความเสียหายได้ประมาณ 65 เอเคอร์ของพื้นที่บริเวณเกษตรกรรม
อ่านต่อเพิ่มเติม: ภูเขาไฟเป็นอันตรายต่อสุขภาพคุณอย่างไร
สรุป
ภูเขาไฟสามารถก่อให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ในระดับอันตราย รวมถึง อนุภาคPM2.5 และPM10ในพื้นที่ใกล้การระเบิด มากไปกว่านั้น ก๊าซจากภูเขาไฟก็สามารถทำปฏิกิริยาและสร้างอนุภาค PM2.5 ซึ่งสามารถแพร่กระจายได้ไกลหลายพันไมล์

เครื่องฟอกอากาศสำหรับห้องทุกขนาด
Smart Air Thailand ขอเสนอเครื่องฟอกอากาศหลากหลายรุ่นที่ตอบโจทย์ทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องฟอกอากาศแบบพกพา รุ่น QT3 เครื่องฟอกอากาศภายในบ้านขนาดไม่เกิน 40 ตร.ม. รุ่น Sqair หรือเครื่องฟอกาอากาศขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ถึง 100 และ 140 ตร.ม. เหมาะสำหรับออฟฟิศและโรงพยาบาล อย่างรุ่น Blast Mini และ Blast