ออฟฟิศและที่ทำงานอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่ดีของเชื้อไวรัสอย่างเช่นโควิด-19 ในบทความนี้เราจะมานำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการทำให้การถ่ายเทและระบายอากาศในออฟฟิศดีขึ้นซึ่งอาจจะช่วยให้การแพร่กระจายของไวรัสอย่างโคโรน่านั้นลดลง
หลักฐานของผลกระทบต่อการแพร่เชื้อซึ่งมีผลมาจากระบบระบายอากาศในออฟฟิศ
มีหลักฐานไม่มากที่แสดงให้เห็นว่าการระบายอากาศที่ดีนั้นมีผลต่อการแพร่เชื้อไวรัสที่ลดลง แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลมากมายที่สื่อให้เห็นว่าการระบายอากาศที่ไม่ดีนั้นมีผลต่ออัตราการแพร่เชื้อไวรัสที่สูงขึ้น องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้รวบรวมรายงานการวิจัยกว่า 65 ชิ้นที่แสดงให้เห็นถึงปรากฏการณ์นี้
หนึ่งในรายงานที่รวบรวมมานี้คือการวิจัยที่ถูกทดสอบ ณ โรงเรียนประถมแห่งหนึ่งในนิวยอร์กในยุค 1970s ในรายงานนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้จำลองการระบาดของโรคหัดในโรงเรียนแห่งนี้ โดยมีนักเรียน ป.2 หนึ่งคนที่มีเชื้อโรคหัดซึ่งต่อมาได้แพร่เชื้อไปยังนักเรียนคนอื่นๆกว่า 60 คนภายในระยะเวลา 1 เดือน
พวกเขาได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ ตั้งแต่อัตราการระบายอากาศในห้อง ระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละห้อง ไปจนถึงจำนวนไวรัสในอากาศ พวกเขาใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการจำลองความน่าจำเป็นที่นักเรียนแต่ละคนจะได้รับเชื้อโรคหัดโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เหล่านักวิทยาศาสตร์เรียกมันว่าสมการ Wells-Riley สมการนี้อาจจะไม่สมบูรณ์แบบแต่มันสามารถถูกนำมาใช้เพื่อดูว่าการระบายอากาศที่ไม่ดีนั้นมีผลกระทบต่อความน่าจะเป็นของการติดเชื้อไวรัสอย่างไร
โมเดล Wells-Riley ทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่ายิ่งเพิ่มการระบายอากาศในห้องเท่าไรก็ยิ่งลดโอกาศของการแพร่เชื้อไวรัส นี่แหละคือกุญแจสำคัญ
ในประเทศสหรัฐอเมริกา ASHARE แนะนำค่า ACH (Air Change per Hour หรือจำนวนรอบของการหมุนเวียนอากาศครบทั้งปริมาตรห้องต่อ 1 ชั่วโมง) อย่างน้อยที่ 0.35 ACH สำหรับบ้านและที่อยู่อาศัยทั่วไป กราฟนี้แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มการระบายอากาศจาก 0.35 ACH ไป 1 ACH สามารถลดความน่าจะเป็นของการแพร่เชื้อไวรัสได้ถึงครั้งนึงเลยทีเดียว ซึ่งนั่นมันเยอะมากๆ
โอกาสแพร่เชื้อ 30% ไม่สูงไปหน่อยหรือ
ผู้อ่านบางท่านอาจจะคิดว่าความน่าจะเป็นในการติดเชื้อไวรัส 30% ในที่อากาศถ่ายเทน้อยนั้นฟังดูเป็นเปอร์เซ็นที่สูง นักวิทยาศาสตร์ที่สร้างสมการ Wells-Riley ขึ้นมานั้นก็สังเกตเห็นเหมือนกัน พวกเขาได้อธิบายว่าแบบจำลองแรกนั้นมาจากผู้ป่วยคนแรกซึ่งอาจจะมีโอกาสแพร่เชื้อสูงมากๆ
พวกเขาใช้เคสต่อๆมาในการปรับโมเดลซึ่งมีผลให้ความน่าจะเป็นของการแพร่เชื้อไวรัสนั้นลดลงไปมาก:
แม้ว่าโอกาสในการแพร่เชื้อไวรัสจะลดลงไปมากในโมเดลที่ 2 แต่โอกาสในการแพร่เชื้อไวรัสที่เกี่ยวโยงกับการระบายอากาสก็ยังเหมือนเดิม การปรับขนาดโมเดลที่ 2 ตามภาพนี้ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจน:
เห็นได้ชัดว่าการเพิ่มการระบายอากาศจาก 0.35ACH ไป 1ACH สามารถลดความน่าจะเป็นของการแพร่เชื้อไวรัสไปได้ถึงครึ่งหนึ่ง
ข้อแม้ 1: การจำลองนี้ใช้การระบาดของโรคหัดในปี 70s เพียงครั้งเดียว ถึงสมการ Wells-Riley จะถูกใช้อย่างกว้างขวางแต่มันก็ใช้เป็นค่าประมาณได้เท่านั้น
ข้อแม้ 2: โควิด-19 นั้นสามารถแพร่เชื้อได้ทั้งทางฝอยละออง (droplet) และทางอากาศ (airborne) ข้อมูลข้างต้นนี้ครอบคลุมแค่การแพร่เชื้อทางอากาศเท่านั้นและไม่ได้แสดงให้เห็นว่าการแพร่เชื้อไวรัสทางฝอยละอองสามารถลดลงได้หากอากาศถ่ายเทดีขึ้น
สรุป
ระบบระบายอากาศมีผลกระทบโดยตรงต่อความน่าจะเป็นของการแพร่เชื้อไวรัสของโรคต่างๆอย่างเช่นโควิด-19 สมการ Wells-Riley แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มการระบายอากาศในห้องจาก 0.4 ACH (air changes per hour) ไปที่ 1 ACH อาจนำไปสู่การลดลงของความน่าจะเป็นในการแพร่เชื้อไวรัสไปได้ถึงครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว
เกี่ยวกับ Smart Air
Smart Air เป็นธุรกิจเพื่อสังคมที่ได้รับการยอมรับโดย B corp ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงมิติทางสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับตำนานที่บริษัทใหญ่ๆที่หวังเพิ่มราคาอากาศบริสุทธิ์
อุตสาหกรรมเครื่องฟอกอากาศนั้นเต็มไปด้วยความต้องการที่จะทำให้อากาศบริสุทธิ์ซับซ้อนและมีราคาแพงเกินความจำเป็น แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น อากาศบริสุทธิ์เป็นสิ่งที่ไม่ซับซ้อนเลย เพราะสิ่งเดียวที่ต้องการคือพัดลมและแผ่นกรองอากาศ
บริษัทใหญ่ๆไม่สามารถได้กำไรจากความเรียบง่าย ดังนั้นพวกเขาจึงเพิ่มลูกเล่นที่ไม่จำเป็นลงไปในเครื่องจักรของเขา
Smart Air ผลิตเครื่องฟอกอากาศแบบเรียบง่ายที่มีการแจกจ่ายข้อมูลอย่างเปิดเผยรองรับการทำงานของเครื่องฟอกอากาศและประสิทธิภาพการทำงานของมันโดยการตัดลูกเล่นทางการตลาดที่แปลกใหม่ออกไป เช่น เครื่องสร้างประจุไอออนและหลอด UV ที่อาจทำให้อากาศของคุณแย่ลง เราสามารถทำให้มีอากาศสะอาดมากขึ้นโดยที่ค่าใช้จ่ายนั้นมีราคาเพียงเศษเสี้ยวของค่าใช้จ่ายที่ “พวกบริษัทใหญ่” จะเรียกเก็บเงินจากคุณ
ติดตามและเพิ่มเราเป็นเพื่อนบนโซเชียลมีเดียเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม