ในขณะที่หน้ากากอนามัยกำลังขาดแคลนในช่วงโควิดระบาดนี้ มีแพทย์บางท่านที่ฆ่าเชื้อโรคบนหน้ากากด้วยแอลกอฮอล์เพื่อที่จะได้นำกลับมาใช้อีกครั้ง แต่นี่ก็ทำให้เกิดคำถามที่ว่าแอลกอฮอล์นั้นได้ผลจริงหรือไม่และมันทำให้หน้ากากเสื่อมสภาพลงหรือเปล่า
แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อไวรัสหรือไม่
การวิจัยเกี่ยวกับแอลกอฮอล์นั้นชัดเจนว่ามันสามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ ในทางเทคนิคนั้นเชื้อไวรัสไม่มีชีวิต ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงโฟกัสว่าไวรัสนั้นถูก“ยับยั้ง”แล้วหรือไม่ หรือก็คือไม่สามารถทำให้มนุษย์ติดเชื้อได้แล้วนั่นเอง
ตัวอย่างเช่น บทความในปี 2018 ที่สรุปการวิจัย 17 ชิ้นของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการทดลองใส่แอลกอฮอล์บนมือคนและวัดดูการลดลงของไวรัส แอลกอฮอล์สามารถยับยั้งไวรัสได้กว่า 90% รวมถึงไวรัสอย่างโปลิโอในกรณีส่วนใหญ่ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับขนาดของยาและชนิดของไวรัสด้วย
อย่างไรก็ตาม มี 23% ของการทดลองที่แอลกอฮอล์ยับยั้งเชื้อไวรัสได้น้อยกว่า 90% ดังนั้นแอลกอฮอล์สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมดและทุกครั้งไป
การฆ่าเชื้อบนหน้ากากด้วยแอลกอฮอล์ทำให้หน้ากากเสื่อมสภาพหรือไม่
ก่อนที่หมอทั้งหลายจะเริ่มฉีดแอลกอฮอล์ใส่หน้ากากนั้น เราจำเป็นที่จะต้องรู้ก่อนว่าแอลกอฮอล์ทำให้หน้ากากเสื่อมสภาพหรือไม่ เพราะถึงแม้ว่าการฆ่าเชื้อนั้นจะ“สำเร็จ”แต่มันก็จะไม่มีประโยชน์เลยหากมันทำให้หน้ากากใช้งานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ
โชคดีที่ว่ามีนักวิทยาศาสตร์ได้ทดสอบปัญหานี้ดูแล้ว นักวิจัยจาก National Institute for Occupational Safety and Health (สถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา) ได้ทำการทดสอบก่อนและหลังการนำหน้ากาก N95 ไปจุ่มลงในแอลกอฮอล์ (isopropanol) จากนั้นพวกเขาก็รอให้มันแห้งข้ามคืน
หลังจากฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์แล้ว หน้ากากสามารถดักจับอนุภาคได้ลดลง 37% โดยเฉลี่ย
ทำไมการทดลองครั้งนี้ถึงเกินจริง
37% อาจจะฟังดูเยอะ แต่ตัวเลขนี้มันเกินจริงไป นั่นก็เพราะว่าพวกเขาได้ทดสอบกับอนุภาคขนาดที่เป็นไปได้มากที่สุดที่จะมีผลกระทบโดยแอลกอฮอล์
นักวิจัยทดลองกับอนุภาคขนาดประมาณ 0.05 ถึง 0.40 ไมครอน เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ ไวรัสโคโรน่ามีขนาดเฉลี่ยอยูที่ 0.125 ไมครอน แน่นอนว่าอนุภาคในอากาศมากมายนั้นมีขนาดใหญ่กว่า 0.4 ไมครอนซึ่งก็รวมถึงเชื้อแบคทีเรียและไวรัสบางชนิด
แล้วขนาดนั้นสำคัญอย่างไร? ช่วงขนาด 0.3 ไมครอนที่ว่านี้นั้นยากที่สุดสำหรับหน้ากากในการดักจับ จากกราฟข้างล่างนี้จะเห็นได้ว่าอัตราการดักจับอนุภาคจะลดลงไปในช่วง 0.3 ไมครอน
นี่เป็นกราฟสำหรับแผ่นกรอง HEPA แต่สำหรับหน้ากากนั้นก็ไปในทิศทางเดียวกัน อาจจะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดักจับอนุภาคขนาดที่ว่ายากที่สุดนี้ หน้ากากหลายๆประเภทจึงใช้เส้นใยที่มีประจุไฟฟ้าสถิต การจุ่มมันลงไปในแอลกอฮอล์นั้นทำให้ประจุไฟฟ้าสถิตนี้หายไป
ซึ่งนั่นไม่ดีกับช่วงขนาดอนุภาคที่ว่านี้ แต่มันก็หมายความว่าแอลกอฮอล์นั้นทำอันตรายกับการดักจับอนุภาคขนาดอื่นๆน้อยกว่า ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่นักวิจัยวัดอนุภาคขนาดที่เล็กกว่า พวกเขาพบว่าการฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์นั้นส่งผลให้ประสิทธิภาพลดลงน้อยกว่า 5%
อ่านต่อ: คำอธิบายว่าจริงๆแล้วทำไมหน้ากากถึงดักจับอนุภาคที่เล็กกว่าได้ง่ายกว่า
สรุป
แอลกอฮอล์ยับยั้งเชื้อไวรัสได้ แต่มันก็ทำให้ประสิทธิภาพในการกรองลดลงไปอย่างมากโดยเฉพาะกับอนุภาคขนาดประมาณ 0.3 ไมครอน
ทางเลือกที่ดีกว่าการฆ่าเชื้อบนหน้ากากด้วยแอลกอฮอล์
การทดลองครั้งนี้มีผลลัพธ์คล้ายๆกับการซักหน้ากากด้วยน้ำและสบู่ซึ่งก็ทำให้ประสิทธิภาพลดลงเช่นกัน มีการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการใช้แสงยูวีและการรอให้หน้ากากแห้งเองนั้นเป็นวิธีที่ดีกว่าการฆ่าเชื้อบนหน้ากาก

เกี่ยวกับ Smart Air
Smart Air เป็นธุรกิจเพื่อสังคมที่ได้รับการยอมรับโดย B corp ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงมิติทางสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับตำนานที่บริษัทใหญ่ๆที่หวังเพิ่มราคาอากาศบริสุทธิ์
อุตสาหกรรมเครื่องฟอกอากาศนั้นเต็มไปด้วยความต้องการที่จะทำให้อากาศบริสุทธิ์ซับซ้อนและมีราคาแพงเกินความจำเป็น แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น อากาศบริสุทธิ์เป็นสิ่งที่ไม่ซับซ้อนเลย เพราะสิ่งเดียวที่ต้องการคือพัดลมและแผ่นกรองอากาศ
บริษัทใหญ่ๆไม่สามารถได้กำไรจากความเรียบง่าย ดังนั้นพวกเขาจึงเพิ่มลูกเล่นที่ไม่จำเป็นลงไปในเครื่องจักรของเขา
Smart Air ผลิตเครื่องฟอกอากาศแบบเรียบง่ายที่มีการแจกจ่ายข้อมูลอย่างเปิดเผยรองรับการทำงานของเครื่องฟอกอากาศและประสิทธิภาพการทำงานของมันโดยการตัดลูกเล่นทางการตลาดที่แปลกใหม่ออกไป เช่น เครื่องสร้างประจุไอออนและหลอด UV ที่อาจทำให้อากาศของคุณแย่ลง เราสามารถทำให้มีอากาศสะอาดมากขึ้นโดยที่ค่าใช้จ่ายนั้นมีราคาเพียงเศษเสี้ยวของค่าใช้จ่ายที่ “พวกบริษัทใหญ่” จะเรียกเก็บเงินจากคุณ
ติดตามและเพิ่มเราเป็นเพื่อนบนโซเชียลมีเดียเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม