คุณอาจเคยได้ยินมาบ้างว่า หน้ากากอนามัย (surgical mask) ป้องกัน PM2.5 แทบไม่ได้เลย อย่างในโปสเตอร์ของ Greenpeace อันนี้เป็นต้น:
โปสเตอร์บอกว่าหน้ากากใช้ป้องกัน PM2.5 เขม่า หรือควันไฟป่า ได้ แต่ขณะเดียวกันก็กลับบอกอย่างนี้เช่นกัน:
หน้ากากอนามัย “ไม่มีประสิทธิภาพ” แต่พอได้อ่านบทความ ก็พบว่าไม่มีการอ้างถึงการทดสอบของหน้ากากอนามัยดังกล่าวเกี่ยวกับ PM2.5
แหล่งข่าวหลายๆแห่งก็พูดในลักษณะเดียวกัน ในสหรัฐอเมริกา National Public Radio อ้างว่าหน้ากากอนามัย “กรองเฉพาะอนุภาคขนาดใหญ่เท่านั้น” [1] และยังกล่าวอีกว่าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ไม่สามารถดักจับอนุภาคขนาดเล็กอย่างโคโรนาได้ ซึ่งหมายถึงอนุภาคตั้งแต่ 0.06-0.14 ไมครอน
การที่ Greenpeace บอกว่าหน้ากากอนามัย “ไม่มีประสิทธิภาพ” ในการกรอง PM2.5 จริงๆแล้วอาจจะหมายถึง “ไม่มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่” ซึ่งอย่างเต็มที่นั่นหมายความว่าต้องเต็มที่ขนาดไหน
เราได้อ่านการทดสอบเกี่ยวกับหน้ากากอนามัยและ PM2.5 พบว่า: หน้ากากอนามัยทางการแพทย์สามารถกรองอนุภาคขนาดเล็กอย่างฝุ่น PM2.5 และไวรัสต่างๆได้อย่างเหลือเชื่อ
1. การวิจัยหน้ากากอนามัยในเอดินเบิร์ก
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์กทดสอบประสิทธิภาพของหน้ากากต่างๆ รวมไปถึงหน้ากากอนามัยทั่วไป ในการป้องกันไอเสียดีเซล ในทดสอบวัดไปจนถึงอนุภาคขนาด 0.007 ไมครอน ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า PM2.5 (มีขนาดน้อยกว่าและเท่ากับ 2.5 ไมครอน) และยังมีขนาดเล็กกว่าไวรัสโคโรนาถึง 10 เท่า พบว่าหน้ากากอนามัยทั่วไปดักจับอนุภาคได้กว่า 80%
2. การทดสอบความพอดีของหน้ากากอนามัย ของ Dr. Saint Cyr
ท่ามกลางกรุงปักกิ่ง Dr. Richard Saint Cyr ทดสอบความพอดีของหน้ากากแบบต่างๆ บนใบหน้าขณะสวมใส่ โดยใช้เครื่องทดสอบความพอดีของหน้ากาก
ผลการทดสอบพบว่าการทำงานของหน้ากากอนามัยมีประสิทธิภาพลดลง โดยกรองอนุภาคขนาด PM2.5 ได้ 60% แต่อาจเป็นไปได้ว่าการทดสอบความพอดีของหน้ากากจำเป็นต้องคำนึงถึงการรั่วซึมรอบๆ หน้ากากอย่างเคร่งครัดเลยทีเดียว
แน่นอนว่าการทดสอบนี้ไม่ใช้การทดสอบเดียว Smart Air ทำการทดสอบความพอดีของหน้ากากในอินเดีย พบว่าหน้ากากอนามัยสามารถดักจับได้กว่า 50% และการทดสอบในสิงคโปร์สามารถดักจับได้ 47% ดังนั้น 50% ก็ไม่ได้หมายความว่า “ไม่มีประสิทธิภาพ” ซะทีเดียว
3. การวิจัยหน้ากากอนามัยและ N95 ของ U Mass
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ ได้ทดสอบหน้ากาก N95 หน้ากากผ้า และหน้ากากอนามัย โดยการทดสอบไม่เพียงทดสอบอัตราการดักจับอนุภาคเท่านั้น แต่ยังทดสอบความพอดีของหน้ากากไปพร้อมๆกันอีกด้วย โดยใช้หุ่นทดลองเพื่อความเสมือนจริงเมื่อสวมใส่
ซ้ายสุดคือหน้ากาก N95 จากยี่ห้อ 3M ส่วน “N95 mask2″ คือยี่ห้อ Moldex N95 และขวาสุดเป็นหน้ากากอนามัยทั่วไปที่หาซื้อจากท้องตลาด จากการทดสอบพบว่าหน้ากากอนามัยป้องกันการไหลผ่านของอนุภาคขนาด 03 ไมครอน ได้ประมาณ 60% และยังป้องกันอนุภาคขนาด 1-2.5 ไมครอน ได้ถึง 90%
สรุป:
จากการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ของความพอดีของหน้ากาก และการทดสอบการรั่วไหลของอนุภาค พบว่าหน้ากากอนามัยทั่วไปที่มีราคาตกอยู่ที่ชิ้นละ 5 บาท สามารถป้องกันฝุ่นหรืออนุภาคขนาดเล็กๆ อย่างไวรัส ได้ประมาณ 60-90% แม้ในขณะสวมใส่จริง