บริษัทเทคโนโลยีมักถกเถียงกันว่าจะพัฒนาเทคโนโลยีอย่างไรให้ง่ายและสะดวกสบายที่สุด แต่ความง่ายนั้นมันดีจริงรึป่าว ใครที่เคยใช้ฟีเจอร์ ‘Talk to Text’ หรือเปลี่ยนเสียงพูดเป็นข้อความของ Siri จากบริษัท Apple จะรู้เป็นอย่างดีเลยว่าเทคโนโลยีเหล่านี้มักมีข้อผิดพลาดเป็นครั้งคราว
เราจึงทดสอบระบบทำงานอัตโนมัติของเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi รุ่น Mi2
และรูปด้านล่างนี้แสดงค่าฝุ่นจากเครื่องวัดค่าฝุ่นภายในเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi:

คำโฆษณา
Xiaomi โฆษณาว่าเครื่องฟอกอากาศของเขาจะตรวจจับคุณภาพอากาศในบ้านของคุณ เพียงเปิดใช้งานเครื่องฟอกอากาศเมื่อคุณภาพอากาศแย่ และปิดใช้งานเมื่อคุณภาพอากาศดีขึ้น ซึ่งนั่นหมายความว่าเราไม่จำเป็นที่จะต้องเปิดเครื่องอากาศในระดับสูงสุดก็มีอากาศสะอาดได้แล้ว แถมยังมีเสียงรบกวนน้อยลง และไม่เปลืองไฟอีกด้วย
การทดลอง
ก่อนหน้านี้เราได้ทดสอบการทำงานของเครื่องฟอกอากาศ Mi2 แล้วพบว่าอากาศกว่า 86% ไม่สะอาด เราจึงทดสอบเครื่องวัดค่าฝุ่นในเครื่องฟอกอากาศ Mi2 อย่างเป็นระบบมากขึ้น
การทดลองใช้เครื่องฟอกอากาศรุ่น Mi1 Mi2 และ Mi2 Pro ที่มีราคาสูงขึ้นไปอีก โดยเราใช้เครื่องวัดค่าฝุ่น 3 เครื่องควบคู่กันไป ซึ่งเครื่องวัดค่าฝุ่นของเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi ที่กล่าวมาไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ ถึงแม้ว่า Mi2 จะใหม่ที่สุดแต่ก็ผ่านการทดสอบเพียงไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น
เราตั้งเครื่องวัดค่าฝุ่นรุ่น Laser Eggs 2 เครื่อง และ Air Visual Node 1 เครื่อง ไว้บนเก้าอี้ใกล้ๆกับเครื่องวัดค่าฝุ่นที่ติดตั้งในเครื่องฟอกอากาศ Mi2

ทดสอบโดยจุดบุหรี่ในห้องปิดขนาด 12 ตร.ม. และให้เครื่องฟอกอากาศทำงานในระดับความเร็วสูง (เป็นเวลากว่า 30 นาที โดยเริ่มจับเวลาตั้งแต่เริ่มต้นการทดสอบ) เพื่อวัดความแม่นยำของทั้งระดับอากาศบริสุทธิ์และอากาศที่เป็นพิษ โดยเราจับภาพทุกๆ 30 วินาทีตลอดการทดสอบ
ต้องแม่นยำขนาดไหนถึงเรียกว่า ‘แม่นยำ’
ก่อนจะพูดถึงผลลัพธ์ เราได้ตั้งสมมุติฐานเอาไว้ แน่นอนว่าเราไม่ได้คาดหวังว่าเครื่องวัดค่าฝุ่นของเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi จะต้องแม่นยำขนาดนั้น เพราะเครื่องวัดค่าฝุ่นที่ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องฟอกอากาศมักมีต้นทุนที่ต่ำมาก ซึ่งเรามองอย่างตรงไปตรงมาว่ามันอาจมีเทคโนโลยีที่ไม่เจ๋งเท่าเครื่องวัดค่าฝุ่นที่เรานำมาทดสอบควบคู่กัน
ซึ่งหากให้มองความเป็นจริง เราคาดหวังเพียงว่าเครื่องวัดค่าฝุ่นของเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi คงทำงานได้ตามที่ถูกออกแบบมา นั่นก็คือการทำงานโหมดอัตโนมัติ
ผลลัพธ์
ถึงผลลัพธ์ออกมาอย่างน่าผิดหวัง เพราะเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi อ่านค่าอย่างคลาดเคลื่อนไปกว่า 218 ไมโครกรัมในวันที่มีอากาศแย่มากๆ
เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพว่าความคลาดเคลื่อนนั้นใหญ่ขนาดไหน ลิมิตภายใน 24 ชั่วโมงขององค์กรอนามัยโลก (WHO) อยู่ที่ 25 ไมโครกรัม นั่นหมายความว่าเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi อ่านค่าผิดพลาดเท่ากับลิมิตขององค์กรอนามัยโลกถึง 8 เท่า
ภาพขณะการทดสอบ:
ดูเหมือนว่าเครื่องวัดค่าฝุ่นของเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi จะหยุดอ่านค่าเมื่อตัวเลขขึ้นถึง 50 ไมโครกรัม โดยเครื่องวัดจะแสดงระดับ AQI เป็นสีส้ม ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อกลุ่มที่เซนซิทีฟง่าย แต่คุณภาพอากาศจริงๆแล้วเป็นสีม่วง ซึ่งระดับนี้เป็นระดับที่ไม่ปลอดภัยอย่างมากต่อทุกๆคน
จึงสรุปได้ว่าเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi ประเมินค่าต่ำเกินไป และต่ำอย่างรุนแรงในบางกรณี อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่ปัญหาเดียว เมื่อเราซูมค่าฝุ่นที่อ่านได้ต่ำแล้วก็ตาม กลับพบว่าเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi กลับมีค่าที่สูงเกินจริงอีกด้วย

ความคลาดเคลื่อน 9 ไมโครกรัมฟังดูไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ทางกลับกันเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi ประเมินจำนวนจริงสูงเกินไปอีกด้วย ซึ่งมีค่าเท่ากับ 10

เครื่องฟอกอากาศ Xiaomi 1 มีความคลาดเคลื่อนเช่นกัน
อาจเป็นไปได้ว่า Mi2 ที่เรานำมาทดลองอาจจะพัง หรือกระแทกอย่างรุนแรงระหว่างการขนส่ง จึงทำให้การทำงานผิดเพี้ยนก็เป็นได้
เพื่อทดสอบความเป็นไปได้เราจึงทดสอบ Mi1 รุ่นเก่ากับ Dylos Pro (ซึ่งเทียบตัวเลขทางการของ PM2.5 ได้เป็นอย่างดี) ผลลัพธ์แสดงให้เห็นรูปแบบเดียวกับ Mi2

ไม่เพียงเท่านั้น เราทดสอบ Mi2 Pro ด้วยเช่นกัน และพบว่าเครื่องวัดค่าฝุ่นของเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi มีการทำงานรูปแบบเดียวกัน ดังนั้นนี่จึงนับเป็นปัญหาที่ชัดเจนของเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi
จะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเลขถูกต้องและเชื่อถือได้
เดี๋ยวนะ เราคิดว่า Laser Egg และ Node เป็นตัวเลขที่ถูกต้อง แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันถูกต้องจริงๆ และเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi อ่านค่าผิด
Smart Air ทำการทดสอบเปรียบเทียบ Node และ Laser Egg ด้วยตัวเลขที่เป็นทางการของ PM2.5 เป็นเวลา 6 วัน โดย Node และ Laser Egg มีค่าสัมพันธ์กับตัวเลขทางการของ PM2.5 ที่ค่า r = .98 โดยข้อผิดพลาดเฉลี่ยของ Node อยู่ที่ 4.8 ไมโครกรัม และ Laser Egg มีค่าผิดพลาดเฉลี่ย 6.5 ไมโครกรัม นั่นทำให้เรามั่นใจได้ว่าตัวเลขจากเครื่องอ่านค่าฝุ่นจากทั้งสองบริษัทเป็นค่าประมาณที่เชื่อถือได้และมีความใกล้เคียงสูง
สรุป: เครื่องวัดค่าฝุ่นของเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi คลาดเคลื่อนเกินที่จะอ่านค่าฝุ่นบนเครื่องฟอกอากาศได้
เครื่องอ่านค่าฝุ่นของเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi มีความคลาดเคลื่อนสูงมาก มากจนไม่ควรนำมาใช้อ่านค่าฝุ่น